วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

 

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

SMR(Smart Mobility Robot) คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ใช้ Sensor และ Processor เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างอิสระ สามารถจดจำตำแหน่ง และวางแผนเส้นทางแบบ Real-Time ด้วยการใช้ระบบ Advanced Driver – Assistance Systems(ADAS) เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ และโปรแกรม Fleet Management ที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานอย่างหลากหลาย

   เราจึงออกแบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติรุ่น SMR300 ภายใต้แนวคิด SEE (Safety, Easy, Economic) ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดพลังงาน สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้การทำงานของคุณมีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และประสิทธิภาพในการผลิตอย่างแท้จริง

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆโดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม







2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่วมกันและแทนที่หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมที่ยุ่งยากและไม่ยืดหยุ่น

การใช้หุ่นยนต์ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถเร่งการผลิต ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ และป้องกันคนงานจากอันตราย หุ่นยนต์ทำงานร่วม (หรือ 'โคบอท') ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ รวมถึงความสามารถในการปรับใช้โคบอทในการทำงานที่ใกล้ชิดกับมนุษย์โดยไม่ต้องมีรั้วกั้น โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปลดปล่อยคนงานจากงานที่น่าเบื่อ สกปรก และอันตรายได้ นอกจากนี้ โคบอทยังพร้อมทำงานทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ไม่เว้นวันหยุด 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมถูกใช้งานที่ไหน?

มีอุตสาหกรรมน้อยมากที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ระบบอัตโนมัติ นับตั้งแต่ที่ GM ได้ใช้หุ่นยนต์ผลิตยานยนต์ตัวแรกในสายการผลิต โรงงานและคลังสินค้าอื่น ๆ นับไม่ถ้วนก็ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมเหล่านี้รวมถึงภาคเภสัชกรรม, การผลิตทั่วไป, การแพทย์และการเกษตร โคบอทของ Universal Robots เป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่สามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวคือ น้ำหนักบรรทุก, ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และจินตนาการของคุณ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทำงานอะไร?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิตสามารถทำงานได้หลากหลาย ตั้งแต่การขนถ่ายวัสดุ, การหยิบและวาง,การตรวจสอบ, การประกอบ, การบรรจุ, การจัดเรียงพาเลท, ไปจนถึงการตกแต่งชิ้นส่วน หุ่นยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานซ้ำ ๆ และบรรเทาแรงงานมนุษย์จากงานที่ต้องใช้กำลังมาก หุ่นยนต์สามารถติดตั้งแมชชีนวิชั่นและระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบแบบเรียลไทม์

โคบอทในสายการผลิตยานยนต์

ปัญหาบางประการที่สายการประกอบยานยนต์ต้องเผชิญ ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ได้แก่ โอกาสที่คนงานจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เวลาในการผลิตช้า และปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติ

ตัวอย่างเช่น Continental ในประเทศสเปน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้โคบอท UR10 เพื่อดำเนินการจัดการและตรวจสอบบอร์ด PCB และส่วนประกอบในระหว่างกระบวนการผลิต


3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

 หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด

             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  

             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป

4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

ซีอีโอ SoftBank เผย หุ่นยนต์อัจฉริยะจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น 
มาซาโยชิ ซน ซีอีโอ SoftBank Group เผยระหว่างการประชุมออนไลน์ SoftBank World 2021 ว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น เตรียมทุ่มสรรพกำลังกับหุ่นยนต์เต็มที่ในขณะที่หุ่นยนต์ Pepper กำลังจะโบกมือลา ซนกล่าวว่ากองทุน Vision Fund สำหรับลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของ SoftBank เข้าไปลงทุนในบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่เสริมประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งล้ำกว่าหุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถเต้นและทักทายผู้คนได้“หลายปีก่อนเรามีอีเว้นต์ยิ่งใหญ่เปิดตัว Pepper แต่ตอนนี้มันกำลังอับอาย” ซนกล่าวขณะยืนอยู่หน้าหุ่นยนต์ Pepper ที่ถูกปิดสวิตช์ ขณะนี้ซีอีโอของ SoftBank กำลังมองไปยังอนาคตของหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ไม่เพียงจะมาแทนที่การผลิต แรงงานในอุตสาหกรรม แต่จะมาแทนที่แรงงานคนทั้งหมดระหว่างที่ซนพูดจะปรากฏวิดีโอหุ่นยนต์หน้าตาเหมือนมนุษย์ (humanoid robot) ที่กำลังวิ่งและเต้น รวมทั้งหุ่นยนต์รูปทรงกระป๋องที่กำลังทำความสะอาดพื้นอย่างไรก็ดี ซนไม่ได้เอ่ยถึงการลงทุนใหม่หรือราคาตลาดของหุ่นยนต์ รวมทั้งไม่แตะประเด็นการยุติการลงทุนของ SoftBank ในจีนซึ่งทางการกำลังเข้ามาควบคุมตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีอย่างเข็มงวด
เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา SoftBank ขายหุ้น 80% ของบริษัท Boston Dynamics ที่ผลิตหุ่นยนต์สุนัข Spot ให้กับบริษัท Hyundai Motor Group ของเกาหลีใต้มูลค่า 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ 1 เดือนต่อมา สำนักข่าว Reuters รายงานว่า SoftBank จะยุติการขายหุ่นยนต์ Pepper ภายในสิ้นปี 2023 หลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2014 ซนยังกล่าวอีกว่า SoftBank ยังคงร่วมงานกับ Boston Dynamics และหลังจากหุ่นยนต์ Pepper จะตามมาด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า "smabo" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมาจากคำว่า "smart" ที่แปลว่าอัจฉริยะ และ "robot" ที่แปลว่าหุ่นยนต์ ซนเผยอีกว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะเหล่านี้จะเข้ามาช่วยปฏิวัติวงการแรงงานคน โดยหุ่นยนต์อัจฉริยะ 1 ตัวสามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ 10 เท่าต่อวัน ซึ่งในญี่ปุ่นหมายความว่า หุ่นยนต์ 100 ล้านตัวสามารถทำงานได้เท่ากับคน 1,000 ล้านคน















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชื่อ

ชื่อ สกุล                      ชื่อเล่น รหัสนักศึกษา นาย พงศกร เหล็มเหร็ม ฟิก 64671504 5 นายภูมินทร์ เซ่งอั้น...